วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันที่ 26 กรกฎาคม 2554

วันนี้เรียนเรื่อง

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ ความสามารถ แก้ไขปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง จากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว

1. ความหมายของทักษะการสังเกตุ

หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตุถุหรือเหตุการณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้นๆ
1) การจัดรูปร่างลักษณะและคุณสมบัติทั่วไป
2) การสังเกตุควบคู่กับการวัดเพื่อหาปริมาณ
3) การสังเกตุเพื่อรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง

2.ความหมายทักษะการจำแนกประเภท

หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของ โดยหาเกณฑ์
ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์
1) ความเหมือน
2)ความแตกต่าง
3)ความสัมพันธ์ร่วม

3. ทักษะการวัด

หมายถึง การใช้เครื่องมือต่างๆวัดหาปริมาณของสิ่งของที่เราต้องการทราบได้อย่างถุกต้อง โดยมีหน่วยการวัดกำกับ
1) รู้จักกับสิ่งของที่จะวัด
2)การเลือกเครื่องมือที่จะนำมาใช้วัด
3)วิธีการที่เราจะวัด

4. ความหมายทักษะการสื่อความหมาย

หมายถึง การพูด การเขียน รูปภาพ และภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้า ความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
1)บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุ
2)บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
3)บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จัดกระทำ
4)จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่างๆ

5. ความหมายทักษะการลงความเห็นของข้อมูล

หมายถึงการเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์
1)ลงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ
2)ลงข้อสรุปความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
3)การสังเกตุเพื่อรู้การเปลี่ยนแปลง

6. ความหมายทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา

หมายถึง การรู้จักเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ การบอกทิศทาง การบอกเงาที่เกิดจากภาพ 3 มิติ การเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดบนกระจกเงา การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลาสำหรับเด็กปฐมวัย
1)ชี้บ่ง 2 มิติ และ 3 มิติ
2)บอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุ
3) บอกตำแหน่งหรือทิศทางของวัตถุ
4)บอกตำแหน่งซ้ายหรือขวาของภาพที่เกิดจากการวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงา

7. ความหมายทักษะการคำนวณ

หมายถึง ความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การบวก การลบ การคูณ การหาร การนับจำนวนของวัตถุ การนำจำนวนตัวเลขมากำหนดบอกลักษณะต่รางๆ เช่น ความกว้าง ความยาว ความสูง พื้นที่
1) การนับจำนานของวัตถุ
2) การบวก ลบ คูณ หาร
3) การนับจำนวนตัวเลขมากำหนดหรือบอกลักษณะต่างๆของวัตถุ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันที่ 19 กรกฎาคม 2554


วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4





วันที่ 12 กรกฎาคม 2554




อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองาน ที่ได้ให้ไปเตรียมตัว


โดยแต่ละกลุ่มก็ได้นำเสนอในรูปแบบของแต่ละกลุ่มที่ได้เตรียมตัวมา


กลุ่มของข้าพเจ้าอาจารย์คอมเม้นต์ว่า บางคนยังอ่านอยู่


เตรียมตัวมาไม่ดี

และให้แต่ละกลุ่มออกมาทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์


กลุ่มของข้าพเจ้านำเสนอเรื่อง ไข่จม ไข่ลอย


วัสดุอุปกรณ์



1. ไข่ไก่สด


2. เกลือ


3. แก้ว


4. น้ำเปล่า



ขั้นตอนการทดลอง



1. เทน้ำเปล่าลงในแก้วครึ่งแก้ว ทั้ง 2 ใบ


2. เทเกลือลงไปในแก้ว 1 ใบ คนให้เกลือละลายเข้ากับน้ำ


3. นำไข่ไก่ใส่ลงไปในแก้วทั้ง 2 ใบ


4. สังเกตุผล